
ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัท
จะดําเนินการจดทะเบียนบริษัทจํากัดภายในหนึ่งวันไดอยางไร ในการจัดตั้งบริษัท ถาไดดําเนินการทุกขั้นตอนดังตอไปนี้ ภายในวันเดียวกับวันที่ผูเริ่มกอการจัดทํา หนังสือบริคณหสนธิ กรรมการจะจดทะเบียนหนังสือบริคณหสนธิและจดทะเบียนบริษัทไปพรอมกันภายใน วันเดียวก็ได
1. ผูเริ่มกอการตั้งแต 3 คนขึ้นไป รวมกันจัดทําหนังสือบริคณหสนธิ
2. จัดใหมีผูเขาชื่อซื้อหุนครบตามจํานวนหุนทั้งหมดที่บริษัทจะจดทะเบียนบริษัท
3. ประชุมจัดตั้งบริษัท (โดยไมตองออกหนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท) เพื่อพิจารณากิจการตางๆ ตาม ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชย มาตรา 1108 โดยมีผูเริ่มกอการและผูเขาชื่อซื้อหุนทุกคนเขารวมประชุม (มอบฉันทะใหผูอื่นเขาประชุมแทนได) และผูเริ่มกอการ และผูเขาชื่อซื้อหุนทุกคน ใหความเห็นชอบในกิจการที่ ไดประชุมกันนั้น
4. ผูเริ่มกอการไดมอบกิจการทั้งปวงใหแกกรรมการบริษัท
5. กรรมการไดเรียกใหผูเขาชื่อซื้อหุน ใชเงินคาหุน โดยจะเรียกครั้งเดียวเต็มมูลคาหรือไมนอยกวารอย ละยี่สิบหาของมูลคาหุน ตามมาตรา 1110 วรรคสองก็ได และผูเขาชื่อซื้อหุนทุกคนไดชําระเงินคาหุนเสร็จ เรียบรอยแลว
ขอมูลที่ตองใชในการจดทะเบียนบริษัทจํากัด
1. ชื่อของบริษัท (ตามที่ไดจองชื่อไว) *ดูหลักเกณฑการจองชื่อนิติบุคคล*
2. ที่ตั้งสํานักงานแหงใหญ / สาขา (ตั้งอยู ณ จังหวัดใด) พรอมเลขรหัสประจําบานของที่ตั้งสํานักงาน, E-mail และหมายเลขโทรศัพทของบริษัทหรือกรรมการ
3. วัตถุที่ประสงคของบริษัทที่จะประกอบกิจการคา
4. ทุนจดทะเบียน จะตองแบงเปนหุนๆ มีมูลคาหุนเทาๆ กัน (มูลคาหุนจะตองไมต่ํากวา 5 บาท)
5. ชื่อ ที่อยู อาชีพ และจํานวนหุนที่ผูเริ่มกอการจองซื้อไว
6. ชื่อ ที่อยู อายุ สัญชาติ ของพยาน 2 คน
7. อากรแสตมป 200 บาท
8. ขอบังคับ (ถามี)
9. จํานวนทุน (คาหุน) ที่เรียกชําระแลว อยางนอยรอยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
10. ชื่อ ที่อยู อายุของกรรมการ
11. รายชื่อหรือจํานวนกรรมการที่มีอํานาจลงชื่อแทนบริษัท (อํานาจกรรมการ)
12. ชื่อ เลขทะเบียนผูสอบบัญชีรับอนุญาตพรอมคาตอบแทน
13. ชื่อ ที่อยู สัญชาติ และจํานวนหุนของผูถือหุนแตละคน
14. ตราสําคัญ
15. ที่ตั้งสํานักงานแหงใหญ/สาขา บริษัทจะไมจดทะเบียนตราสําคัญของบริษัทก็ได หากวาอํานาจกรรมการไมไดกําหนดใหตอง ประทับตราสําคัญดวย 3
เอกสารหลักฐานที่ตองใชในการจดทะเบียนบริษัทจํากัด
1. คําขอจดทะเบียนบริษัทจํากัด (แบบ บอจ.1)
2. แบบคํารับรองการจดทะเบียนบริษัทจํากัด
3. หนังสือบริคณหสนธิ (แบบ บอจ.2) ผนึกอากรแสตมป 200 บาท
4. รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (แบบ บอจ.3)
5. แบบวัตถุที่ประสงค (แบบ ว.)
6. รายละเอียดกรรมการ (แบบ ก.)
7. แบบแจงผลการจองชื่อนิติบุคคลที่ยังไมครบกําหนด
8. หลักฐานใหความเห็นชอบในการจัดตั้งบริษัทเพื่อประกอบธุรกิจจากหนวยงานที่เกี่ยวของ (ใชเฉพาะในการประกอบธุรกิจที่มีกฎหมายพิเศษควบคุม เชน ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร กิจการขอมูลเครดิต บริหารสินทรัพย กิจการคลังสินคา กิจการไซโล หรือกิจการหองเย็น)
9. บัญชีรายชื่อผูถือหุน (แบบ บอจ.5)
10. สําเนาบัญชีรายชื่อผูเขาชื่อซื้อหุนหรือผูรับมอบฉันทะในการประชุมใหความเห็นชอบในกิจการที่ ไดประชุมจัดตั้งบริษัทพรอมลายมือชื่อ
11. สําเนารายงานการประชุมตั้งบริษัท
12. สําเนาขอบังคับ ผนึกอากร 200 บาท (ถามี)
13. สําเนาหลักฐานการรับชําระคาหุนที่บริษัทออกใหแกผูถือหุน
14. กรณีบริษัทจํากัดมีผูถือหุนเปนคนตางดาวถือหุนในบริษัทจํากัดไมถึงรอยละ 50 ของทุนจด ทะเบียน หรือกรณีบริษัทจํากัดไมมีคนตางดาวเปนผูถือหุน แตคนตางดาวเปนกรรมการผูมีอํานาจลงนามหรือ รวมลงนามผูกพันบริษัท ใหสงเอกสารหลักฐานที่ธนาคารออกให เพื่อรับรองหรือแสดงฐานะการเงินของผูถือ หุนที่มีสัญชาติไทยแตละรายประกอบคําขอจดทะเบียน โดยเอกสารดังกลาวตองแสดงจํานวนเงินที่สอดคลอง กับจํานวนเงินที่นํามาลงหุนของผูถือหุนแตละราย
15. แบบ สสช.1 จํานวน 1 ฉบับ
16. แผนที่แสดงที่ตั้งสํานักงานแหงใหญและสถานที่สําคัญบริเวณใกลเคียงโดยสังเขป
17. สําเนาบัตรประจําตัวของผูเริ่มกอการและกรรมการทุกคน
18. สําเนาหลักฐานการเปนผูรับรองลายมือชื่อ (ถามี)
19. หนังสือมอบอํานาจ
การจดทะเบียนบริษัทใหม่ไม่ยากอย่างที่คิดหรือถ้าทานต้องการความสะดวก ประหยัดเวลาที่ท่านต้องไปนั่งรอ ท่านสามารถใช้บริการบริษัทเราได้ ซึ่งเราให้บริการท่านตั้งแต่การจดทะเบียนบริษัทไปจนถึงบริการรับทำบัญชีและอื่นเพื่อให้ท่านไม่ต้องปวดหัวกับเอกสารที่มากมาย ติดต่อเรา คลิ๊ก
หน้าที่หลังจากจดทะเบียนบริษัท
การที่บริษัทมีสภาพเ ป็นนิติบุคคลตามกฎหมายทำให้มีสิทธิ หน้าที่รับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ได้แก่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ พ.ศ. 2499 พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 รวมทั้งต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ตามมาตรฐานการบัญชี ดังนี้
1.ต้องมีที่ตั้งสำนักงานซึ่งถือเป็นภูมิลำเนาของบริษัทที่สามารถติดต่อได้ หากมีการย้ายที่ตั้งสำนักงานจากที่จดทะเบียนไว้ ก็ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนย้ายที่ตั้งสำนักงานต่อนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท
(ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับ บริษัท/กรรมการ ไม่เกินสองหมื่นบาท)
นอกจากนี้หากกรมพัฒนาธุรกิจการค้าไม่สามารถติดต่อบริษัทได้ จะระบุรายชื่อไว้บนเว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า (www.dbd.go.th) ว่าบริษัทไม่มีสำนักงานแห่งใหญ่ ณ ที่ตั้งตามที่จดทะเบียนไว้ เพื่อเป็นข้อมูลให้ประชาชนทราบต่อไป
2.จัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น ให้จัดทำตั้งแต่วันที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด เพื่อบันทึกข้อมูลของผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นและการเข้า-ออก จากการเป็นผู้ถือหุ้น รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการโอนหุ้นและถ้าไม่ดำเนินการมีความผิดการเปลี่ยนแปลงรายการต่างๆ และต้องเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานของบริษัท สมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นต้องเปิดให้ผู้ถือหุ้นดูได้ในระหว่างเวลาทำการไม่น้อยกว่าวันละ 2 ชั่วโมงโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม
(ถ้าไม่จัดทำ ไม่เก็บรักษา หรือไม่ให้ผู้ถือหุ้นดูสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นมีความผิด ปรับบริษัทไม่เกินสองหมื่นบาท/ปรับกรรมการไม่เกินห้าหมื่นบาท)
นอกจากนี้ยังต้องจัดทำใบหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นทุกคนไว้เป็นหลักฐานเพื่อแสดงการเป็นเจ้าของหุ้นและจะเก็บค่าธรรมเนียมก็ได้แต่ต้องไม่เกินสิบบาท โดยรายละเอียดในใบหุ้นต้องมีชื่อบริษัท มีหมายเลขหุ้น มีมูลค่าของหุ้น
ชำระค่าหุ้นแล้วหุ้นละเท่าใด มีชื่อของผู้ถือหุ้นหรือคำว่าใบหุ้นออกให้แก่ผู้ถือ และให้กรรมการลงลายมือชื่อด้วยตนเองพร้อมประทับตราบริษัท
(ถ้าไม่ทำใบหุ้น หรือเรียกค่าธรรมเนียม หรือมีรายละในใบหุ้นไม่ครบถ้วน มีความผิด ปรับบริษัท ไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท /ปรับกรรมการไม่เกินห้าหมื่นบาท)
3.หลังจากนั้นภายใน 6 เดือนนับจากวันที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทจะต้องจัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อจากนั้น ในทุกๆ รอบระยะเวลา 12 เดือนก็ต้องจัดประชุมแบบนี้อีกอย่างน้อยหนึ่งครั้ง การประชุมที่นอกเหนือจากนี้เรียกว่าการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น
(ถ้าไม่เรียกประชุมมีความผิด ปรับบริษัทไม่เกินสองหมื่นบาท / ปรับกรรมการไม่เกินห้าหมื่นบาท)
สำหรับวิธีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัททุกครั้ง จะต้องนัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยวิธีการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ในท้องที่ และส่งหนังสือนัดประชุมทางไปรษณีย์ตอบรับไปยังผู้ ถือหุ้นทุกคนล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน เว้นแต่นัดประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องที่จะต้องลงมติพิเศษให้กระทำการดังกล่าวข้างต้นก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน โดยข้อความในหนังสือนัดประชุมต้องระบุสถานที่ วัน เวลา และเรื่องที่จะพิจารณากัน กับข้อความที่จะนำเสนอให้ลงมติพิเศษ ซึ่งเรื่องที่กฎหมายกำหนดให้ต้องมีการลงมติพิเศษ คือ การเพิ่มทุน การลดทุน การแก้ไขข้อบังคับ การควบบริษัท การแก้ไข หนังสือบริคณห์สนธิ การเลิกบริษัท
(ถ้าไม่ลงโฆษณา ไม่ส่งหนังสือนัดประชุม ไม่ระบุรายละเอียดในหนังสือนัดประชุมมีความผิด ปรับบริษัทไม่เกินสองหมื่นบาท / ปรับกรรมการไม่เกินห้าหมื่นบาท)
และทุกครั้งที่มีการประชุมต้องทำการจดบันทึกรายงานการประชุม มติของที่ประชุมไว้ในสมุดให้ถูกต้อง ทั้งต้องเก็บรักษาสมุดจดบันทึกรายงานการประชุมไว้ ณ สำนักงานของบริษัท
(ถ้าไม่จดบันทึกหรือไม่เก็บรักษาสมุดมีความผิด ปรับกรรมการไม่เกินห้าหมื่นบาท)
4. ต้องส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ ถือหุ้นทั้งหมดและผู้ที่ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นแล้วในวันประชุมสามัญ ไปยังนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท อย่างน้อยปีละครั้งแต่ไม่ให้ช้ากว่า 14 วันนับแต่วันประชุมสามัญผู้ถือหุ้น
(ถ้าไม่ส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นมีความผิด ปรับกรรมการไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท)
5.ต้องรีบนัดประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นทันที เมื่อบริษัทขาดทุนถึงครึ่งหนึ่งของต้นทุนเพื่อแจ้งให้ผู้ถือหุ้นทราบ หรือเมื่อผู้ถือหุ้นที่มีหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 5 ร้องขอให้เรียกประชุม
(ถ้าไม่นัดประชุมมีความผิด ปรับกรรมการไม่เกินสองหมื่นบาท)
6.ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีหนึ่งคนหรือหลายคนมาตรวจสอบงบการเงิน แล้วต้องนำงบการเงินที่ได้รับการตรวจสอบเสนอในที่ประชุมผู้ถือหุ้น เพื่ออนุมัติภายในสี่เดือนนับแต่วันที่ปิดบัญชี โดยต้องส่งสำเนางบการเงินให้
ผู้ถือหุ้นดูล่วงหน้าก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วัน และมีสำเนางบการเงินเปิดเผยไว้ในสำนักงานของบริษัท
(ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับบริษัทไม่เกินสองหมื่นบาท / ปรับกรรมการไม่เกินห้าหมื่นบาท)
การเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียน
เมื่อบริษัทจำกัดต้องการจะเปลี่ยนแปลงรายการทางทะเบียนของบริษัท กรรมการผู้มีอำนาจเป็นผู้ยื่นขอจดทะเบียนแก้ไขเปลี่ยนแปลง โดยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวอาจจะต้องได้รับมติของที่ประชุม คณะกรรมการหรือ
ผู้ถือหุ้น แต่หากเป็นรายการที่มีความสำคัญจะต้องให้ผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษ ให้เปลี่ยนแปลง ได้แก่ การเพิ่มทุน การลดทุน การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ การควบบริษัท และการเลิกบริษัท
การเปลี่ยนแปลงบางรายการที่กฎหมายกำหนดระยะเวลาในการยื่นจดทะเบียนไว้ ซึ่งต้องไปดำเนินการภายในกำหนด ได้แก่
1.การเปลี่ยนแปลงทุนของบริษัท (เพิ่มทุน/ลดทุน) ต้องไปยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้เพิ่มทุนหรือให้ลดทุน ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ลงมติ
2.การเปลี่ยนแปลงข้อบังคับของบริษัท ต้องไปยื่นจดทะเบียนภายใน 14 วันนับจากวันที่ลงมติ
3.การเปลี่ยนแปลงกรรมการเข้า/ออก ต้องไปยื่นจดทะเบียน ภายใน 14 วัน นับจากวันที่มีการเปลี่ยนแปลง
4.การควบบริษัท ต้องไปยื่นจดทะเบียนมติพิเศษให้ควบบริษัทเข้ากันภายใน 14 วันนับจากวันที่มีมติ และยื่นจดทะเบียนควบบริษัทภายใน 14 วันนับจากวันที่ควบเข้ากัน
(ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับบริษัทไม่เกินสองหมื่นบาท / ปรับกรรมการผู้จัดการไม่เกินห้าหมื่นบาท)
การเลิกและชำระบัญชี
เมื่อมีความประสงค์จะเลิกบริษัท ให้จัดประชุมผู้ถือหุ้นมีมติพิเศษให้เลิกบริษัทและตั้งผู้ชำระบัญชี เพื่อทำหน้าที่ชำระสะสางทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท จากนั้นผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้
1.จัดทำคำขอไปยื่นจดทะเบียนเลิกบริษัทภายใน 14 วัน นับแต่วันที่เลิกกัน
(ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชีไม่เกินห้าหมื่นบาท)
และต้องลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ว่าห้างหุ้นส่วนเลิกกัน พร้อมกับส่งจดหมายลงทะเบียนไปรษณีย์แจ้งไปยังเจ้าหนี้ทุกคน
(ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชีไม่เกินแปดหมื่นบาท)
2.จัดทำงบการเงินส่งให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง แล้วเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อรับรองให้ผู้ ชำระบัญชีเป็นผู้ชำระบัญชีต่อไปหรือจะแต่งตั้งผู้ชำระบัญชีใหม่และอนุมัติงบการเงิน
(ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชีไม่เกินห้าพันบาท)
3.ถ้ามีการเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีใหม่หรือแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี หรือแก้ไขที่ตั้งสำนักงานของผู้ชำระบัญชี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงด้วย การจดทะเบียนเปลี่ยนตัวผู้ชำระบัญชีหรือแก้ไขอำนาจผู้ชำระบัญชี ต้องไปจดทะเบียนภายใน 14 วัน นับจากวันที่ได้มีการเปลี่ยนตัวหรือวันลงมติ
(ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชีไม่เกินห้าหมื่นบาท)
4.จัดทำรายงานการชำระบัญชียื่นต่อนายทะเบียนทุก 3 เดือน เพื่อแสดงความเป็นไปของบัญชีที่ชำระอยู่ และรายงานนี้ต้องเปิดเผยให้ผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้ทราบด้วย
(ถ้าไม่ดำเนินการมีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชีไม่เกินห้าหมื่นบาท)
แต่หากการชำระบัญชีต้องใช้เวลานานกว่าหนึ่งปี ผู้ชำระบัญชีต้องเรียกประชุมผู้ถือหุ้นในเวลาทุกสิ้นปีนับแต่วันที่เริ่มทำการชำระบัญชีและทำรายงานต่อที่ประชุมว่าได้จัดการไปอย่างไร พร้อมทั้งบอกให้ทราบความเป็นไป
ของบัญชีโดยละเอียด
(ถ้าไม่เรียกประชุม ไม่ทำรายงาน หรือไม่แถลง มีความผิด ปรับผู้ชำระบัญชีไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท)
5.เมื่อผู้ชำระบัญชีได้ชำระบัญชีของบริษัทเสร็จสิ้นแล้ว ต้องทำรายงานสรุปการดำเนินการชำระบัญชีตั้งแต่ต้น แล้วเรียกประชุมใหญ่เพื่อเสนอรายงานและชี้แจงกิจการต่อที่ประชุม เมื่อที่ประชุมได้อนุมัติรายงานนั้น แล้วให้จัดทำคำขอไปยื่นจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายใน 14 วันนับแต่วันที่ประชุมอนุมัติรายงาน ซึ่งเมื่อได้จดทะเบียนแล้วถือว่าบริษัทนั้นสิ้นสภาพความเป็นนิติบุคคล
(ถ้าไม่เรียกประชุม ไม่ทำรายงาน ไม่ชี้แจง หรือละเลยไม่ไปจดทะเบียนมีความผิดปรับผู้ชำระบัญชีไม่เกินห้าหมื่นบาท)
ที่มา..สิ่งที่ต้องรู้เมื่อเป็นห้างหุ้นส่วนบริษัท